วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

1. รีบฝังร่างอย่างรวดเร็ว

ร่างของสิ่งมีชีวิตที่จะกลายเป็นฟอสซิลได้นั้น จะต้องถูกฝังลึกลงไปในตะกอนดินอย่างรวดเร็วหลังตายแล้ว เพื่อให้คงสภาพร่างที่สมบูรณ์เอาไว้ได้มากที่สุด โดยจะต้องถูกฝังอยู่เป็นเวลานานมากพอที่จะกลายสภาพเป็นฟอสซิลได้ และฝังอยู่ในระดับลึกพอที่จะไม่ถูกสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่หน้าดินรบกวน

มีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์จำนวนมากในสถานที่บางแห่ง โดยคาดว่าซากไดโนเสาร์ที่ตายลงเพราะความแห้งแล้ง ถูกกระแสน้ำไหลหลากจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นภายหลัง พัดเอาตะกอนดินทรายจำนวนมากมาทับถมเหนือซากของมันจนเหมือนกับฝังกลบอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเป็นแหล่งซากฟอสซิลขึ้นได้

พื้นที่ Badlands ของแคนาดามีตะกอนทรายและโคลนอยู่มาก ทำให้ซากกระดูกไดโนเสาร์ฝังจมลงเร็วจนกลายเป็นฟอสซิล

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

2. ค้นหาแหล่งน้ำ

อย่างไรก็ตาม ร่างที่ถูกฝังเพื่อเตรียมเป็นฟอสซิลดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายและแปรสภาพขั้นต้นไปให้ได้เสียก่อน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ช่วยได้มากคือสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจนหรือมีอยู่น้อยที่สุด (Anoxic environment) ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่และทำให้ร่างเปื่อยเน่าได้

นักบรรพชีวินวิทยาหลายคนบอกว่า แหล่งค้นหาฟอสซิลที่พบซากสิ่งมีชีวิตโบราณในสภาพดีที่สุด คือ ตามแม่น้ำและทะเลสาบที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบ รวมทั้งพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง และที่ก้นทะเล เพราะกระแสน้ำในสถานที่เหล่านี้พัดพาเอาตะกอนดินมาทับถมเหนือซากสิ่งมีชีวิตให้ฝังอยู่ลึกลงไปในบริเวณที่น้ำนิ่ง ทำให้เกิดภาวะออกซิเจนต่ำในบริเวณดังกล่าว

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

3. ไม่ใช้โลงศพ

ฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่นับล้านปีขึ้นไป ล้วนแต่ผ่านกระบวนการที่ปล่อยให้แร่ธาตุซึมผ่านเข้าไปแทนที่เนื้อกระดูก (Permineralisation) กันเกือบทั้งสิ้น โดยขั้นตอนที่แร่ธาตุอย่างแคลเซียม เหล็ก และซิลิกา ซึมผ่านเข้าไปในร่างของสิ่งมีชีวิตจนกลายเป็นฟอสซิลนั้น กินเวลาหลายล้านปีเช่นกัน

สภาพอากาศที่เย็นจัดช่วยรักษาร่างของมนุษย์โบราณ “เอิตซี” ไว้บนเทือกเขาแอลป์ติดพรมแดนอิตาลี-ออสเตรีย นานกว่า 5,300 ปี
ที่มาของภาพ,ALAMY

การฝังร่างโดยใช้โดยใช้โลงศพแบบทั่วไป จะขัดขวางกระบวนการนี้ไม่ให้เกิดขึ้น เว้นแต่จะใช้โลงคอนกรีตที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยเจาะรูเล็ก ๆ โดยรอบและเติมทรายที่ด้านในให้เต็ม เพื่อให้แร่ธาตุซึมผ่านได้ แร่ธาตุที่ถูกดูดซึมเข้าไปนี้ทำให้ฟอสซิลมีสีต่าง ๆ อีกด้วย โดยโลหะอย่างทองแดงและนิกเกิลจะทำให้กระดูกและฟันมีสีเขียวอมน้ำเงินได้

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

4. หลีกเลี่ยงจุดใกล้รอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก

เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยาในผืนแผ่นดินที่ฝังร่างฟอสซิลจะผลักให้ร่างจมลึกลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งความร้อนและแรงดันใต้พิภพจะยิ่งเร่งให้กระบวนการกลายเป็นฟอสซิลเกิดอย่างรวดเร็วขึ้นอีก แต่หากปล่อยให้จมลึกมากเกินไปในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการชนกัน และแผ่นหนึ่งมุดตัวลงไปอยู่ข้างใต้ของอีกแผ่นหนึ่ง (Subduction zone) ฟอสซิลของคุณก็อาจถูกหลอมละลายหรือบดขยี้กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้

พื้นที่หนึ่งที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อฟอสซิลเช่นนี้คือที่ประเทศอิหร่าน ซึ่งแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate )กำลังยกตัวขึ้นเหนือแผ่นเปลือกโลกอิหร่าน (Iranian Plate )

5เทคนิคการเกิดฟอสซิล

5. เตรียมการให้มีผู้ค้นพบ

เมื่อได้ร่างที่กลายเป็นฟอสซิลสมใจแล้ว ต้องไม่ลืมที่จะเตรียมการให้มีผู้สามารถค้นพบฟอสซิลนั้นได้ในอนาคตด้วย แม้จะต้องฝังร่างในจุดที่ต่ำพอจนเกิดการทับถมของตะกอนดินและทราย แต่ก็ต้องไม่ต่ำเกินไปกว่าที่ซากฟอสซิลจะถูกดันกลับคืนสู่พื้นผิวในเวลาที่เหมาะสม หรือเกิดการชะล้างหน้าดินจนซากฟอสซิลปรากฏขึ้นได้ด้วย

 

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ