3การทดลองมหัศจรรย์
ลูกโป่งประหลาด
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.กระดาษ
3.เศษกระดาษ
4.ยางรัด
5.เกลือ น้ำตาล พริกไทย เส้นผม
วิธีการทดลอง
1. โรยเกลือ น้ำตาล พริกไทยไว้บนกระดาษซึ่งมีเศษกระดาษเล็กๆ อยู่
2. เป่าลูกโป่งแล้วรัดด้วยยางให้แน่น
3. แหย่ลูกโป่งใกล้ๆ เศษกระดาษ เกลือ น้ำตาล พริกไทย และ เส้นผม แล้วสังเกตผล
4. ถูลูกโป่งที่เสื้อผ้านักเรียน แล้ว ลองแหย่ใกล้ๆ วัสดุในข้อ 3 อีกครั้ง แล้วสังเกตผล
ผลการทดลอง
เมื่อแหย่ลูกโป่งที่ถูกับเสื้อผ้าใกล้ๆ เศษกระดาษน้ำตาล เกลือ พริกไทย และเส้นผมสิ่งเหล่านี้จะถูกดูดติดกับลูกโป่ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ถูลูกโป่งกับ เสื้อผ้านั้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ทำให้สามารถดูดวัสดุเบาๆ ขึ้นมาได้
เศษกระดาษ น้ำตาล ฯลฯนั้นปกติอยู่ในสถานะเป็นกลาง เมื่อถูลูกโป่ง ด้วยเสื้อผ้าประจุลบจะมาเรียงกันที่ผิว เมื่อนำลูกโป่งมาใกล้เศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ประจุลบบนลูกโป่งจึงดูดประจุบวกบนเศษกระดาษ น้ำตาล เส้นผม ฯลฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดูดติดกับลูกโป่ง
การทดลองนี้ต้องทดลองในวันที่อากาศแห้ง วัสดุต่างๆ ต้องแห้งด้วย จึงจะได้ผล
ดังกว่าได้อย่างไร
วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.เศษกระดาษ
3.ไม้บรรทัด
4.ยางรัด
วิธีการทดลอง
1.เป่าลูกโป่งให้พองเต็มที่ แล้ววัดความกว้างของลูกโป่งนี้ว่าเป็นเท่าไร
2.ให้เพื่อนถือเศษกระดาษให้อยู่ระดับหูห่างจากหูเท่ากับความกว้าง ลูกโป่ง แล้วใช้นิ้วมือเคาะเบาๆที่กระดาษ สังเกตว่าได้ยินเสียงหรือไม่ อย่างไร
3.จับลูกโป่งในข้อ 1 แนบหู ให้เพื่อน สอดเศษกระดาษเข้าไประหว่าง ลูกโป่งและมือที่จับ แล้วใช้นิ้ว เคาะเบาๆที่กระดาษเปรียบเทียบ ความดังที่ได้ยิน
ผลการทดลอง
เมื่อเคาะเบาๆที่กระดาษที่แนบติดกับลูกโป่งจะได้ยินเสียงดังชัดเจน กว่าเมื่อเคาะโดยไม่มีลูกโป่งกั้น ที่เป็นดังนี้เพราะอากาศภายในลูกโป่งมี มากและถูกอัดให้อยู่ภายในลูกโป่ง ดังนั้นอนุภาค (โมเลกุล) ของอากาศจะ อยู่ใกล้ชิดกันมากกว่าอนุภาคของอากาศภายนอก อากาศที่มีอนุภาคใกล้ชิด กันมากจะเป็นตัวกลางที่ดีในการให้เสียงเคลื่อนที่ผ่าน
สวิตซ์ทำให้หลอดไฟสว่างต่างกันอย่างไร
วัสดุอุปกรณ์
1. ถ่ายไฟฉาย ขนาด D
2. หลอดไฟ
3. สายไฟ
4. ไส้ดินสอ
5. เทปใส
6. มีดโกน
วิธีการทดลอง
1.ปอกฉนวนหุ้มสายไฟ 2 ปลาย ให้ปลายหนึ่งยาวกว่าเพื่อที่จะพันรอบฐาน หลอดไฟได้
2.ต่อปลายสายไฟด้านหนึ่งเข้ากับ ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย อีกด้าน หนึ่งพันรอบฐานหลอดไฟ ดังรูป
3.วางอีกขั้วหนึ่งของถ่านไฟฉายลง บนไส้ดินสอ วางฐานหลอดไฟ บนไส้ดินสอ สังเกตความสว่าง ของหลอดไฟ
4.ค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟไปตามไส้ดินสอ โดยเลื่อนไปให้ห่างจากถ่านไฟฉาย ออกไปเรื่อยๆ สังเกตความสว่างของหลอดไฟ
ผลการทดลอง
เมื่อค่อยๆ เลื่อนฐานหลอดไฟให้ห่างออกไป ความสว่างของหลอดไฟ จะค่อยๆหรี่ลงยิ่งระยะห่างระหว่างถ่านไฟฉายและหลอดไฟมีมากเท่าไร กระแสไฟฟ้าที่ผ่านไส้ดินสอจะยิ่งลดลง ทำให้หลอดไฟหรี่ความสว่างลง ทั้งนี้เพราะไส้ดินสอเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่ดี