10เรื่องโลกของเรา
1. โลกมีอายุราว 4.5 พันล้านปี แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกเพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ประมาณ 150-200 ล้านปีที่แล้ว หรือคิดเป็น 5-10 เปอร์เซ็นต์ของอายุโลกเท่านั้น
2. หลายๆ คนคิดว่าโลกของเรานั้นเป็นทรงกลม แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แบบนั้น เพราะสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าโลกกลมนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากมวลน้ำนั่นเอง หากเราสูบน้ำออกจากโลกให้หมดเราจะเห็นรูปร่างที่แท้จริงของโลก ซึ่งมันไม่กลมเลยสักนิด
3. ในโลกของเราประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก ออกซิเจน และ ซิลิคอน เกือบจะทั้งหมด หากเราจำแนกโลกออกเป็นส่วนๆ จะประกอบไปด้วย เหล็ก 32.1%, ออกซิเจน 30.1%, ซิลิคอน 15.1%, และ แม็กนีเซียม 13.9% แน่นอนว่าเหล็กเกือบทั้งหมด (88%) จะอยู่ในแกนกลางของโลก
4. 70% ของพื้นผิวโลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ เมื่อนักบินอวกาศได้ออกไปเห็นโลกจากนอกอวกาศ พอมองกลับมาที่โลกจะเห็นแต่สีฟ้าเต็มไปหมด โลกจึงถูกขนานนามว่า ดวงดาวสีฟ้า หรือ Blue Planet นั่นเอง ส่วนอีก 30% ที่เหลือก็เป็นพื้นดินล้วนๆ ที่โผล่ขึ้นมาเหนือท้องทะเลให้เราเห็น
5. โลกมีภูเขาไฟมากกว่าที่เราคิดไว้เยอะ และมีภูเขาไฟระเบิดอยู่บ่อยๆ แต่ภูเขาไฟกว่า 90 เปอร์เซ็นต์บนโลกนั้น อยู่ใต้มหาสมุทรลึก
6. โลกของเรานั้นเปรียบเสมือนกับก้อนแม่เหล็กขนาดใหญ่ ที่มีขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ทำหน้าที่เสมือนเป็นแกนแม่เหล็ก ซึ่งสนามแม่เหล็กของโลกนี้จะมีความกว้างหลายพันกิโลเมตรจากพื้นโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสนามแม่เหล็กเกิดจากการหลอมละลายหินและธาตุต่างๆ ที่แกนโลก ทำให้เกิดความร้อนและกระแสไฟฟ้าออกมา และกระแสแม่เหล็กนี้ก็ทำหน้าที่ปกป้องโลกของเราจากลมสุริยะ ในลักษณะที่เป็นพลังงานคอยปัดเป่าคลื่นพลังงานเหล่านั้นไม่ให้กระทบกับโลกโดยตรง เพราะหากลมนั้นพัดเข้าสู่โลกจะทำให้เกิดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง
7. จริงๆ แล้วโลกของเราไม่ได้ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงแบบเป๊ะๆ ที่จริงแล้วโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลาที่ 23 ชั่วโมง 56 นาที และอีก 4 วินาที ต่างหากล่ะ
8. ใน 1 ปี ก็ไม่ได้มี 365 วันแบบเป๊ะๆ จริงๆ แล้วมันเป็น 365.2564 วันต่างหากล่ะ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงต้องมีวันที่ 29 ในเดือนกุมภาพันธ์ทุกๆ 4 ปีนั่นเอง
9. แผ่นเปลือกโลกช่วยให้โลกของเรารู้สึกสบายยิ่งขึ้น โลกนั้นเป็นดาวเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มี แผ่นเปลือกของดวงดาว และมันก็กระจายกันออกไปแบ่งเป็นทวีปต่างๆ เจ้าแผ่นเปลือกโลกนี้จะมีกระบวนการในการเคลื่อนที่อยู่แทบจะตลอดเวลา และเจ้ากระบวนการนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้โลกของเราสามารถถ่ายเทก๊าซคาร์บอนออกไปสู่นอกชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย เพราะสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในมหาสมุทรเมื่อตายไป ก็จะตกลงไปสู่ที่ก้นของมหาสมุทร และเวลาผ่านไปนานหลายปีก็จะทับถมจนเกิดเป็นคาร์บอน จากนั้นมันก็จะถูกส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศและทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ หากแผ่นเปลือกโลกไม่เคลื่อนไหว กระบวนการระบายคาร์บอนออกไปก็จะไม่เกิดขึ้นและทำให้โลกร้อนระอุ กลายเป็นดวงดาวที่เต็มไปด้วยเปลวไฟก็เป็นได้
10. โลกของเราเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียว ที่เรารู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แม้จากการสำรวจดวงดาวต่างๆ ทั้งดาวอังคาร, ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่มีชื่อว่า Titan ก็ยังไม่พบแน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ที่มา: wtfintheworld