วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

 

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

1. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์พลังงาน
เชื่อหรือไม่ว่าร่างกายของคนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คนแต่ละคนจะมีพลังงานเทียบเท่ากับการเปิดหลอดไฟฟ้าขนาด 120 วัตต์ เพราะคนที่กินอาหารเข้าไปปริมาณ 2,500 แคลอรีในแต่ละวันจะให้พลังงานความร้อน 104 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าที่มีพลังงาน 120 วัตต์

 

2. กะพริบตา
ตลอดชีวิตของคนเรานั้นเราต้องกะพริบตาถึง 250 ล้านครั้งทีเดียว เพราะเราจะต้องกะพริบตาทุก ๆ 6 วินาที ทำให้กล้ามเนื้อตาเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้ว จะ
เท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

3. สมองบริโภค
เชื่อหรือไม่ว่าตอนแรกเกิดสมองของเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 15 ปี สมองจะหนักถึง 1.4 กิโลกรัมและจะมีขนาดคงที่ สมองเติบโตได้เพราะใช้พลังงานจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป 20% และใช้เลือดหล่อเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

4. กระบวนการคิด
นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า อิริยาบถต่าง ๆ มีผลต่อการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ การนอนคิดจะทำให้ความคิดกว้างไกล การยืนทำให้ความคิดแคบลงสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น ส่วนการนั่งเป็นอิริยาบถที่เหมาะกับการตัดสินใจที่ไม่รีบร้อนเท่าใดนัก

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

5. เส้นขนแข็งแรง
โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก ฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆ กับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

6. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตาแหลมคม
ตาของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกะพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

7. ตาที่สาม
เชื่อหรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตา ตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า สารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผล นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

8. ฮัดเช้ย!
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคือง เราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

9. ริมฝีปาก
เคยสงสัยกันหรือไม่ครับว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเอง จึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้

 

10วิทยาศาสตร์น่ารู้

10. ยิ้มแย้ม
ร่างกายของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 650 มัด หากเราหน้าบึ้งจะต้องใช้กล้ามเนื้อประมาณ 400 มัด ในขณะที่การยิ้มใช้กล้ามเนื้อ 15 มัด เท่านั้น และพลังงานที่ใช้ก็น้อยกว่าการขมวดคิ้ว 1 ครั้งเสียอีก เชื่อกันว่าการขมวดคิ้ว 200,000 ครั้ง ทำให้เกิดรอยตีนกา 1 รอย

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ