วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

10ภาพโลกและจักรวาล ที่ทำให้มนุษย์เรียนรู้โลกและจักรวาลมากขึ้น

10ภาพโลกและจักรวาล

เป็นเวลากว่า 60 ปีแล้วตั้งแต่ดาวเทียมดวงแรกได้ขึ้นสู่วงโคจรในห้วงอวกาศ แม้เรายังรู้เรื่องของจักรวาลนี้น้อยมาก ในตอนนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถเห็น และถ่ายภาพวัตถุต่างๆในอวกาศได้แล้ว ภาพถ่ายที่สวยงามที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อทำความเข้าใจโลก ระบบสุริยะ และจักรวาล

1.อีกด้านหนึ่งของดวงจันทร์กับโลกเป็นพื้นหลัง

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ดวงจันทร์จะหันด้านเดียวหาโลกอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกจะเท่าๆ กับเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเอง อย่างไรก็ตามม เราจะไม่เห็นดวงจันทร์เหมือนกันตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยู่ในอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) เราจะเห็นทางขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ แต่ถ้าคุณอยู่ในแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) คุณจะเห็นทางขั้วโลกเหนือของดวงจันทร์

2. พัฒนาการของมนุษย์กับการมองเห็นดาวพลูโต

นับแต่ปี 2006 ดาวพลูโตไม่ได้ถูกนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะอีกต่อไป ตอนนี้มันเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์แคระเหมือนกับดาวเพื่อนบ้านกันอย่างเอรีส และเซเรส

3. การยืนยันว่าโลกกลม

ภาพนี้ถ่ายบนยอดเขาเอเวอเรสที่ทำให้ทฤษฎีโลกแบนสิ้นสุดไป แต่ก็ยังมีบางคนเถียงว่าเพราะมันถ่ายด้วยเลนส์ตาปลาเลยทำให้ภาพดูโค้ง แต่ภาพนี้บ่งบอกได้ถึงปัญหาที่สำคัญกว่านั้นคือขยะและธงบนยอดเขาเอเวอเรสที่ผู้คนทิ้งไว้มากมาย

4. เนบูร่าฟองน้ำ

เนบูล่าฟองน้ำอยู่ห่างจากโลกประมาณ 7,100 ปีแสงในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เนบูล่าชนิดนี้ถูกค้นพบในปี 1787 โดยวิลเลี่ยม เฮิร์สเซล แต่เราเพิ่งมีรูปถ่ายที่ชัดมากในปี 2016 ต้องขอบคุณไปยังกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ทำให้รู้อายุของมันว่าอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านปีและใหญ่เป็น 45 เท่าของขนาดดวงอาทิตย์

5. การปล่อยตัวยานฟอลคอน 9 ด้วยกระสวยอวกาศฮิสปาแซท 30W-6

เมื่อวันที 6 มีนาคม 2018 ยานฟอลคอน 9 ทำการส่งดาวเทียมสื่อสารไปยังวงโคจรของโลกที่จะทำงานเป็นเวลา 15 ปี นี่คือการปล่อยยานลำที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทอีลอน มัสก์ได้เคยทำมา ยานฟอลคอน 9 มีความพิเศษเพราะส่วนแรกของมันสามารถนำมาใช้ได้หลายครั้ง แต่ครั้งนี้มันไม่สามารถลงจอดได้เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค

6. ชั้นบรรยากาศของโลกและดวงจันทร์

ภาพบรรยากาศของโลกสีlสวยงามโดยมีดวงจันทร์อยู่ด้านหลัง

7. ISS ข้างหน้าดวงจันทร์

ISS หรือสถานีอวกาศนานาชาติได้ปล่อยตัวขึ้นสู่วงโคจรของโลกในปี 1998 วันนี้ ISS อยู่เหนือพื้นโลก 400 กิโลเมตรและโคตรด้วยความเร็ว 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ราคาเต็มของสถานีนี้คือ 150 ล้านดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 4,800 ล้านบาท

8.การปะทุของยอดเขาซารืยเชฟในหมู่เกาะคูริล

ยอดเขาซารืยเชฟในเกาะมาตูอาได้ปะทุ 11 ครั้งในรอบ 250 ปีที่ผ่านมา ครั้งสุดท้ายคือในปี 2009 โดยนักบินอวกาศที่ ISS ได้เก็บภาพนี้ไว้ การปะทุครั้งนี้ทรงพลังมากถึงขนาดสร้างชายฝั่งที่มาความยาวถึงครึ่งกิโลเมตรได้

9. รถสำรวจดาวอังคาร Curiosity ถ่ายภาพเซลฟี่กับภูมิประเทศของดาวอังคาร

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ดาวอังคาร นี้คือชื่ออย่างเป็นทางการของ Curiosity ที่ได้ทำการสำรวจพื้นผิวของดาวอังคารนับตั้งแต่ปี 2012 มันทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณรังสีที่คนจะเผชิญซึ่งเทียบเท่ากับ 300 เท่าของมาตรฐานประจำปีที่กำหนดสำหรับคนที่ทำงานด้านนิวเคลียร์ เป็นเหตุผลว่าทำไมระยะเวลาสูงสุดของคนที่อยู่บนดาวดวงนี้ต้องไม่เกิน 500 วัน

10. ดุมดาราจักร ท่ามกลางกาแลกซี่ทางช้างเผือก

ศูนย์กลางของจักรวาลเรานั้นห่างไปถึง 27,000 ปีแสงและมันส่วนที่สว่างของทางช้างเผือกที่ยังให้กำเนิดหมู่ดาวใหม่ๆ ดุมดาราจักรคือส่วนที่มีดาวฤกษ์เก่าเกาะกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่น เชื่อกันว่าศูนย์กลางของเรานั้นคือสองหลุมดำที่หนึ่งในนั้นใหญ่มากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 43 ล้านเท่า

ที่มา: brightside

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ