วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

วิทยาศาสตร์น่ารู้ ในชีวิตประจําวัน เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้สั้นๆ

ส่งยานสำรวจดาวศุกร์ ที่อาจเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ล้วนพูดถึงภารกิจสำรวจและค้นหาซากอารยธรรมสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร หรือแม้แต่ภารกิจการไปตั้งรกรากบนดาวอังคารของ อีลอน มัสก์ แต่น้อยคนนักที่จะพูดถึงดาวศุกร์ ที่อยู่อยู่ใกล้โลกยิ่งกว่าดาวอังคารเสียอีก

โลกของเรามีความคล้ายคลึงกับดาวศุกร์อยู่ไม่น้อยจนถูกขนานนามว่าเป็น ‘ดาวน้องสาวของโลก’ เพราะมันมีขนาดสูสีกัน มวลใกล้เคียงกัน แต่ดาวศุกร์มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต และนั่นทำให้มันกลายเป็นดาวที่ถูกลืมไปเลยก็ว่าได้

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หินเหมือนกับโลก แต่มีสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายขั้นสุด

ภาพคอนเซปต์ของศิลปิน ปีเตอร์ รูบิน ของนาซ่า ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพพื้นผิวที่มีแต่ภูเขาไฟและเปลือกโลกที่ทรุดตัวจนเกิดเป็นแนวร่องลึก

ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์มีความเป็นพิษเนื่องจากประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 96.5% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์คือ 464 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงยิ่งกว่าดาวพุธที่อยู่ติดกับดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นยังมีเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟิวริกที่สะท้อนแสงได้ดีมาก จนทำให้เราแทบไม่เคยเห็นพื้นผิวของดาวศุกร์เลย

แต่เนื่องจากในอดีตอันไกลโพ้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าดาวศุกร์เคยมีมหาสมุทรที่เหือดแห้งไปแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ดาวศุกร์จะเคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อน ซึงทางนาซ่าได้จัดเตรียม 2 ภารกิจที่มีชื่อว่า DAVINCI+ และ VERITAS ที่มีกำหนดการเดินทางไปยังดาวศุกร์ และฝ่าฟันชั้นบรรยากาศที่รุนแรงเข้าไปถึงพื้นผิวของมันภายในปลายทศวรรษนี้

สิ่งสำคัญก็คือ การศึกษาข้อมูลและภาพที่ได้จากภารกิจนี้ จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบได้ว่า ครั้งหนึ่งดาวศุกร์เคยมีสภาพแวดล้อมเหมือนโลกมาก่อนหรือไม่

“การแสดงหาสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจค้นหาสัญญาณสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวของนาซ่า” ดร.เจมส์ การ์วิน ผู้รับผิดชอบหลักของภารกิจ DAVINCI+ กล่าว “เราทุกคนกล้าที่จะหวัง”

สำหรับภารกิจ DAVINCI+ จะเป็นการติดตั้งกล้องพิเศษเพื่อตรวจสอบดูชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นและใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติมในการวัดปริมาณสารเคมีในชั้นบรรยากาศ

“เราคาดว่าจะค้นพบตารางสารเคมีใหม่ทั้งหมด” ดร.การ์วินกล่าว

ทีมงาน DAVINCI+ ไม่คาดหวังว่ายานสำรวจจะแตะพื้นได้นาน ดร.การ์วินคาดว่าจะสามารถติดต่อสื่อสารได้โดยไม่เกิดปัญหาประมาณ 12-18 นาทีเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญกว่าก็คือการทำแผนที่ดาวศุกร์จากบนท้องฟ้า รวมถึงการตรวจสอบเคมีของชั้นบรรยากาศดาวศุกร์

“เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ของเราได้โดยไม่ต้องนำยานลงจอดเลย” ดร.การ์วินอธิบาย

ภารกิจ DAVINCI+ คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2029 และใช้เวลาเดินทางผ่านอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะไปถึงดาวศุกร์ ส่วนภารกิจ VERITAS จะทำการส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดาวศุกร์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดร.แอนโธนี ฟรีแมน ผู้ดูแลโครงการ VERITAS กล่าวว่า โครงนี้จะคอยตรวจหาไอน้ำที่พวยพุ่งออกมาจากเถ้าภูเขาไฟ เพื่อตรวจสอบว่ามีน้ำอยู่ในดาวศุกร์หรือไม่ ถ้ามีการค้นพบจริง นั่นจะเป็นการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับดาวน้องสาวกับเราดวงนี้

ภาพคอนเซปต์ของยาน VERITAS ที่ใช้เรดาร์สร้างแผนที่ลักษณะภูมิประเทศและแผนที่ทางธรณีวิทยาที่มีความละเอียดสูง

นอกจากนั้น ภารกิจของ DAVINCI+ ไม่ได้ถูกสร้างมาสำหรับดาวศุกร์เท่านั้น เพราะหลังจากรวบรวมข้อมูลจากดาวศุกร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยานอวกาศของภารกิจนี้จะยังทำงานต่อไปได้ในอวกาศและนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นได้

สุดท้ายนี้ อย่างที่เราทุกคนคาดหวังกันว่า น่าจะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นแน่นอนในจักรวาลแห่งนี้ คำถามอาจไม่ใช่ว่า “มีสิ่งมีชีวิตอื่นหรือไม่” แต่คำถามคือ “เราจะค้นพบมันเมื่อไหร่” มากกว่า

ที่มา : thesun

Tags

แชร์:

เรื่องอื่นๆ